ถังเก็บน้ำทำหน้าที่เป็นจุดพักน้ำ สิ่งแปลกปลอมที่อาจหลุดรอดมากับน้ำจะมีเวลาตกตะกอนก่อนที่น้ำประปาจะมาถึงบ้าน และหน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือ หน้าที่สำรองน้ำไว้ให้สมาชิกในบ้านใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างกรณีท่อส่งประปาแตกเสียหาย อยู่ระหว่างซ่อมแซม ไม่สามารถส่งน้ำประปามาได้ ถังเก็บน้ำมีหลายประเภท หลากหลายวัสดุ ให้เลือกใช้ตามงบประมาณและการใช้งานของแต่ละบ้าน
กว่า 40 แบรนด์
สินค้าของเรามีแบรนด์ชั้นนำมากกว่า 40 แบรนด์ โดยแต่และแบรนด์ การันตีด้วยคุณภาพ
สินค้า 7000 รายการ
ครอบคลุมวัสดุสินค้าก่อสร้างทุกชนิด ไม่ต้องไปที่ไหนจบครบที่นี่ที่เดียวเท่านั้น
20 หมวดหมู่
นอกจากมีสินค้ากว่า 7,000 รายการแล้ว เรายังแบ่งหมวดหมู่ เพื่อให้ความสะดวก เข้าใจและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ติดต่อง่ายขึ้น
เลือกซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เพียงทัก "แชท" ปุ่มที่อยู่ตรงมุมขวาของหน้าจอ
แท้งค์เก็บน้ำ มีหน้าที่สำรองน้ำไว้ใช้ตอนน้ำไม่ไหล สามารถใช้ร่วมกับระบบจ่ายน้ำทั้งแบบจ่ายขึ้นและจ่ายลง (up feed & down feed) แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้มีปริมาณการใช้น้ำภายในบ้านมากนัก และไม่ได้ต้องการใช้ปั๊มน้ำ ก็สามารถใช้น้ำจากระบบประปาได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแท้งค์เก็บน้ำก็ได้ เพียงแต่อาจจะต้องประสบปัญหาไม่มีน้ำใช้เวลาที่น้ำไม่ไหลเท่านั้นเอง
สำหรับการเลือกขนาดแท้งค์เก็บน้ำ จะพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้านและระยะเวลาในการกักเก็บสำรองน้ำเอาไว้ใช้ โดยจากข้อมูลของการประปานครหลวง ผู้ที่พักอาศัยในเขตนครหลวงจะใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตรต่อคนต่อวัน (ผู้ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลจะใช้น้ำเฉลี่ย 120 ลิตรต่อคนต่อวัน และผู้ที่พักอาศัยแถบชานเมืองจะใช้น้ำเฉลี่ย 70 ลิตรต่อคนต่อวัน: ข้อมูลของการประปาส่วนภูมิภาค) ดังนั้นปริมาณน้ำดีที่จะกักเก็บสำรองไว้ใช้จะเท่ากับจำนวนผู้พักอาศัย X ปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคนต่อวัน X ระยะเวลาที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ (ประมาณ 3 วัน)
โดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ ติดตั้งแท้งค์เก็บน้ำบนดินและใต้ดิน
การติดตั้งถังบนดิน
วิธีนี้เหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารที่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆ ของอาคาร วิธีนี้มีข้อดีคือ การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง และการเคลื่อนย้ายสามารถทำได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคืออาจทำให้ดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
สำหรับชนิดของถังน้ำที่เหมาะสมกับการติดตั้งแบบนี้คือ ถังเก็บน้ำสแตนเลส และถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดติดตั้งบนดิน
การติดตั้งถังใต้ดิน
ใช้ในกรณีที่บ้านหรืออาคารมีพื้นที่จำกัด และต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงาม โดยอาคารนั้นต้องมีโครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักได้เพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การก่อสร้างและการเลือกชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ และศึกษาคู่มือการติดตั้งก่อนการติดตั้ง สำหรับเรื่องการบำรุงดูแลรักษาต้องระวังมากกว่าการติดตั้งบนดิน และทำความสะอาดได้ยากกว่า รวมทั้งวิธีการของการติดตั้งวิธีค่อนข้างสูง
สำหรับชนิดของถังน้ำที่เหมาะสมกับการติดตั้งแบบนี้คือ ถังเก็บน้ำคอนกรีต และถังน้ำพลาสติกชนิดฝังดินผลิตจากไฟเบอร์กลาส
ซึ่งถังเก็บน้ำและแท้งค์น้ำที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดปัจจุบัน ก็มีให้เลือกอยู่หลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น ถังเก็บน้ำ DOS, ถังเก็บน้ำ FLUSSO, ถังเก็บน้ำ SOMIC, ถังเก็บน้ำ WAVE ฯลฯ โดยแต่ละยี่ห้อก็มีแท้งค์น้ำให้เลือกหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ถังเก็บน้ำสแตนเลสที่มีคุณสมบัติป้องกันสนิมนิยมติดตั้งบนดิน ถังเก็บน้ำพลาสติกมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งบนดินและใต้ดินที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน ถังเก็บน้ำคอนกรีต ถังเก็บน้ำโพลีเมอร์ชนิดทึบแสง ถังเก็บน้ำโพลีเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง หรือถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เป็นต้น โดยแท้งค์น้ำคุณภาพจากแบรนด์ชั้นนำต่างๆมีให้เลือกตั้งแต่ราคาหลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ซึ่งราคาจะถูกหรือแพงก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงทนทาน ขนาดแท้งค์น้ำ ปริมาณความจุของถังเก็บน้ำ ที่จะต้องมีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน
1.เปิดฝาถังน้ำเพื่อเช็กคราบสกปรกภายในถังเก็บน้ำ
2.ปิดวาล์วน้ำและเปิดจุกที่อยู่บริเวณด้านล่างถังออก เพื่อปล่อยน้ำและสิ่งสกปรกออกให้หมด
3.เมื่อน้ำไหลออกจนหมดแล้ว ตะกอนบางส่วนอาจตกค้างก้นถัง ซึ่งคุณควรใช้สายยางหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดไล่ตะกอนออก4
4น้ำจุดปิดถังน้ำมาทำความสะอาดและพันด้วยเทปพันท่อประปาประมาณ 2-3 รอบ ก่อนจะปิดจุกกลับเข้าที่เดิมให้สนิท
5.เปิดวาล์วน้ำให้ไหลลงถังเก็บน้ำ ซึ่งควรทำความสะอาดถังเก็บน้ำอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน
การเลือกถังสำรองน้ำหรือแท้งค์น้ำ จะต้องพิจารณากันเรื่องของขนาดและปริมาณความจุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ซึ่งคุณสามารถคำนวนได้จากจำนวนสมาชิกภายในบ้านและลักษณะการใช้งาน โดยปกติทั่วไปแล้วค่าเฉลี่ยในการใช้น้ำประปาต่อวันจะอยู่ที่ 200 ลิตร/คน ก็ให้ทำการคูณจำนวนสมาชิกภายในครอบครัว พร้อมคูณจำนวนวันที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้งานให้เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น บ้านของเรามีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 3 คน ก็จะต้องซื้อแท้งค์เก็บน้ำที่มีความจุ 200 x 3 = 600 ลิตร ซึ่งหากต้องการสำรองน้ำประมาณ 2 วันก็ควรซื้อถังเก็บน้ำที่มีความจุ 600 x 2 = 1,200 ลิตร เป็นต้น
มาตราฐานการเลือกปริมาณความจุถังเก็บน้ำ
จำนวนสมาชิก 4 คน = ถังสำรองน้ำความจุ 800 ลิตร
จำนวนสมาชิก 5 คน = ถังสำรองน้ำความจุ 1,000 ลิตร
จำนวนสมาชิก 6 คน = ถังสำรองน้ำความจุ 1,200 ลิตร
จำนวนสมาชิก 7-8 คน = ถังสำรองน้ำความจุ 1,600 ลิตร
จำนวนสมาชิก 9-10 คน = ถังสำรองน้ำความจุ 2,000 ลิตร
1.อายุการใช้งานของถังสำรองน้ำ เนื่องจากถังเก็บน้ำแต่ชนิดมีอายุการใช้งาน และราคาที่แตกต่างกันออกไป
2.ขนาดและจำนวนถังน้ำ ซึ่งต้องพิจารณาจากปริมาณน้ำที่ต้องการเก็บสำรองที่พอเพียงต่อการใช้งาน สำหรับบ้านพักอาศัยจะใช้น้ำที่ประมาณ 200 ลิตร/คน/วัน
3.พื้นที่สำหรับติดตั้งถังสำรองน้ำ
4.ความสะดวกสบายในการติดตั้ง การดูแลรักษาและทำความสะอาด
5.ระบบท่อที่เชื่อมต่อถังน้ำจะต้องดีมีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่นน้ำรั่ว หรือชำรุด เป็นต้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ FACEBOOK HOMESMART.ME